ยินดีกับพี่น้องเกษตรกร อ.บ้านโฮ่ง และ อ.ป่าซาง!! กฟก.ลำพูนส่งมอบโฉนดที่ดิน 15 ไร่ 88 ตารางวา
วันที่ 3 – 4 ตุลาคม 2567 นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน โอนมอบโฉนดที่ดินให้เกษตรกร หลังได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร อำเภอบ้านโฮ่ง จำนวน 4 ราย และอำเภอป่าซาง จำนวน 2 ราย รวมเนื้อที่ 15 ไร่ 88 ตารางวา ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน โดยเป็นการโอนที่ดินตามกฎหมาย กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (มาตรา 37/9) โดย เกษตรกรสมาชิก กฟก. ได้นำโฉนดที่ดินไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับสถาบันเจ้าหนี้ (สหกรณ์ฯ) และไม่สามารถชำระเงินคืนให้กับสถาบันเจ้าหนี้ (สหกรณ์ฯ)ได้ โดยเกษตรกรได้ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กับ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน (กฟก.) และได้รับการช่วยเหลือในการชำระหนี้แทนเกษตรกร และเกษตรกรได้ดำเนินการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และขอไถ่ถอนที่ดินคืน ตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว
กฟก.ลำพูนให้เงินกู้ยืม ดอกเบี้ย 0% โครงการเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกโคและโคขุนจำหน่าย ณ บ้านหนองปลาสะวาย
วันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 10.30 น. นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย พนักงานและลูกจ้าง กองทุนฟื้นฟูฯ สาขาจังหวัดลำพูน ณ สนามกีฬาอเนกประสงค์บ้านหนองปลาสะวาย ตำบลหนองปลาสวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดย องค์กรเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองปลาสวาย ได้รับอนุมัติงบประมาณ (งบกู้ยืม) ปี พ.ศ. 2567 ตามโครงการ “เลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกโคและโคขุนจำหน่าย” จำนวนเงิน 500,000 บาท โดยองค์กรได้เบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 2 งวด ในงวดที่ 1 เบิกจ่ายเป็นเงิน 240,000 บาท มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5 ราย และองค์กรเกษตรกร มีแผนการชำระคืนเงิน “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ระยะเวลา 7 ปี ไม่มีดอกเบี้ย
ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน
อนุกรรมการฯ จังหวัดลำพูน พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร ครั้งที่ 8/2567
วันที่ 17 กันยายน 2567 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมอนันตยศ ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน นำโดย นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยพนักงานลูกจ้างฯ จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 8/2567 โดยมี นายภานุพงศ์ ไชยวรรณ์ เป็นประธานในที่ระชุม เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูฯ ด้านการจัดการหนี้ และการรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นอนุกรรมการ ทั้ง 77 จังหวัด ตลอดจนพิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร จำนวน 6 ราย รวม 22 บัญชี มูลหนี้รวม 7,269,225.17 บาท การจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกร จำนวน 6 ราย รวม 22 บัญชี มูลหนี้รวม 7,269,225.17 บาท การเพิกถอนทะเบียนหนี้ของเกษตรกรสมาชิก จำนวน 22 ราย รวม 22 บัญชี
ตรวจรับโคครั้งที่ 2 ณ บ้านห้วยทรายขาว ต.แม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน
วันที่ 10 กันยายน 2567 นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลูกจ้างโครงการเร่งรัดหนี้ฯ โดยมีนายภานุพงศ์ ไชยวรรณ์ ประธานอนุกรรมการ นางนงนุช ใจอ่อน รองประธานอนุกรรมการฯ และนายเสาร์คำ แก้วปลูก รองนายกองค์การบริหารตำบลแม่ลาน ร่วมลงพื้นที่และเป็นสักขีพยานในการตรวจรับโคพันธุ์บราห์มัน ครั้งที่ 2 จำนวน 7 ตัว ขององค์กรเกษตรกรกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรห้วยทรายขาวที่ได้รับอนุมัติโครงการเลี้ยงโคเนื้อ ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 500,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คน
กฟก.ลำพูน ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 7/2567
วันที่ 27 สิงหาคม 2567 นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาลำพูน พร้อมด้วยพนักงานลูกจ้างฯ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดลำพูน ณ ห้องประชุมอนันตยศ ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน โดยมี นายภานุพงศ์ ไชยวรรณ์ เป็นประธาน เพื่อรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินของสำนักงานสาขาจังหวัดและเสนอในที่ประชุมเพื่อพิจารณาขอความเห็นชอบการขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร การจำแนกแยกข้อมูลหนี้ และพิจารณาการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหนี้
กฟก.ลำพูน เข้าร่วมประชุมกรมการจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาลและแผนการพัฒนาจังหวัด ประจำเดือน สิงหาคม 2567
วันที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมจามเทวี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำพูน นางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นทุนและพัฒนาเกษตรกร เข้าร่วมประชุมโดยมี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุมคณะ กรมการจังหวัดลำพูน นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ประจำเดือนสิงหาคม 2567 โดยมีนายโยธิน ประสงค์ความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและแผนการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาล และแผนการพัฒนาจังหวัดในด้านต่างๆ จังหวัดลำพูนเน้นย้ำ..ขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
จังหวัดลำพูนได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้นในห้วงตั้งแต่เข้าสู่ฤดูฝน ปี 2567 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขอให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสั่งการในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2567 ของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง อย่างเคร่งครัด รวมถึงการดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตก ถ้ำ ถ้ำลอด เกาะ แก่งต่างๆ ฯลฯ ให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่รับผิดชอบสถานที่ท่องเที่ยวดังกล่าว ร่วมกำหนดมาตรการการเฝ้าระวัง การแจ้งเตือน การปิดกั้น และการห้ามนักท่องเที่ยวหรือบุคคลใดเข้าพื้นที่ที่กำหนด โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกหนักหรือตกหนักมากในพื้นที่ ให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ตอด 24 ชั่วโมง และหากกรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก ให้รายงานสถานการณ์และประสานการปฏิบัติกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูน ทางหมายเลขโทรศัพท์ 053-622963 สายด่วนนิรภัย 1784 หรือทาง Line ” command อุทกภัยจังหวัดลำพูน ๖๗” สำหรับการประชุมในวันนี้ มีวาระการประชุมที่สำคัญประกอบด้วย การรายงานสภาพอากาศประจำเดือน กันยายน 2567, การรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดลำพูน, การรายงานผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณราบจ่ายภาครัฐจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567, การคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย, กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำวันประมงแห่งชาติ, การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567
กฟก.ลำพูน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดลำพูน โดยนางสาววราภรณ์ พิมสาร หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด มอบหมายให้นางสาวจิตตาภัทร์ ตาแก้ว พนักงานทั่วไป และลูกจ้างโครงการฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ สำรวจความมีอยู่จริงขององค์กรเกษตรกรและสมาชิก และจัดทำแบบประเมินองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้จำนวน 5 องค์กรได้แก่ 1.กลุ่มปลาส้มดงหลวง 2.กลุ่มเลี้ยงวัวพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ตำบลก้อ 3.กลุ่มเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และไก่พันธุ์พื้นเมืองตำบลก้อ 4.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านก้อท่า 5.กลุ่มแปรรูปผลไม้ตำบลก้อ